Riding the Waves: The Surf Lifestyle and Surf Capital of Phuket

ชนินทร์ อัยรักษ์ หรือว่านายกจุ๊บ นายกสมาคมกีฬากระดานโต้คลื่นแห่งประเทศไทย กล่าว่า

ย้อนไปก่อนปี 2000 นะตอนนั้นเนี่ยอยู่ที่ป่าตองอาศัยอยู่กับพี่สาวตั้งแต่เด็กๆ เราก็ขี่มอเตอร์ไซค์เล่นปกตินะ สมัยนั้นเนี่ยพี่พูดถึงประมาณปี 1995 1996 เนี่ย เซิร์ฟยังไม่ค่อยมี ป่าตองเองก็ยังมีน้อย มีเยอะอยู่ที่กะตะที่ว่าเยอะเนี่ยก็คือนับคนได้ ไม่เกิน 10 คน นับชาวต่างชาติแล้ว

เซิร์ฟ ก่อนหน้านี้ คือ Lifestyle มันไม่ใช่กีฬา มันเป็นวิถีของชีวิต อย่างที่เมื่อก่อน ก่อนไปทำงานก็เล่นเซิร์ฟก่อน ที่กะหลิม พอซัก 8:30 น 9:00 น ก็เปลี่ยนชุดแล้วก็ไปทำงาน ตอนเย็นก็กลับมาเล่นอีกทีนึง แล้วก็นั่งดูพระอาทิตย์ตกดินบนกระดาน มันเป็นชีวิตประจำวันของเรา มันไม่ใช่รู้สึกว่ามันเป็นกีฬาที่เราจะต้องซ้อมเพื่อแข่งขัน อันนี้เนี่ยมันเป็นมันเป็นเสน่ห์ของกีฬาชนิดนี้มาก

สำหรับส่วนตัวเองมันสอนอะไรได้เยอะเลย จำได้เมื่อปี 2000 ไปเล่นที่ เนียส ที่อินโดนีเซีย คลื่นใหญ่มาก โดนคลื่นทุบลูกนึง แล้วก็โดนน้ำมันไปปั่นอยู่ใต้น้ำ คือธรรมชาติสามารถที่จะปิดชีวิตเราได้ตลอดเวลา มันสอนเราเยอะมันทำให้ อีโก้เราหายไป แล้วรู้สึกว่าเราไม่มีอะไรเลยเราเล็กมาก เรา Respect ธรรมชาติเราให้ความเคารพเขาแล้ว ย้อนกลับเราก็ต้อง Respect ตัวเอง ทีนี้ชีวิตเรามีค่าแล้ว เรา Respect ชีวิตคนอื่น

ต้องบอกว่า พี่เองยังถือว่าเป็นคนไทยแรกๆ ที่ออกไปท่องเที่ยวไปเล่นเซิร์ฟต่างประเทศเยอะมากตั้งแต่ตอนสมัยหนุ่มๆ เราไปเห็นมาเยอะนะ คือเราก็สามารถเปลียบเทียบบ้านเราที่ภูเก็ตกับที่อื่น มันจะไม่เหมือนบ้านเรา

ยกตัวอย่างบาหลี เวลาไปเล่นเซิร์ฟครั้งหนึ่งคุณจะต้องออกไปไกลมากเลย สมมุติว่าไปกับครอบครัวไปกับภรรยากับลูกเนี่ยเขาจะแทบที่จะไม่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมของของเราเลย แต่ภูเก็ตเราเนี่ยมีเสน่ห์มาก คือเราสามารถทำกิจกรรมพวกนี้ด้วยกันได้ลองจินตนาการ เราไปเล่นเซิร์ฟที่กะตะแล้วพาภรรยากับลูกไป คลื่นเป็น Sand break ออกไปประมาณ 50 เมตร มองเห็น ภรรยาสามารถนอนอาบแดด ดื่มค็อกเทล ลูกสามารถเล่นทรายอยู่ โดยที่พ่อนั่งรอคลื่นแล้วมองเห็นลูกกับภรรยา

ในส่วนของการก่อตั้งสมาคม ประมาณก่อนปี 2000  เรารวมกลุ่มกัน ส่วนใหญ่ก็จะเป็นที่ภูเก็ตอย่างเดียว มีทั้งคนไทย มีชาวออสเตรเลีย ฮาวาย ประมาณสัก 10-20 คนรวมกันแล้วก็ตั้งเป็น ชมรมกระดานโต้คลื่นจังหวัดภูเก็ต หรือภูเก็ตบอร์ดไรเดอร์คลับ 

จัดการแข่งขันเล็กๆ แข่งขันเลยวันเดียวครึ่งวันเสร็จ กลางคืนก็มีเลี้ยงมีดื่มกันสนุกสนาน อันนั้นก็จะเป็นจุดเริ่มต้น

เริ่มเติบโตขึ้นเรื่อยๆจนมาถึงประมาณปี 2008 ก็มีจะการจัดการแข่งขันนานาชาติ จะเป็น Asian Tour เพื่อนๆ ชาวอินโดนีเซีย ชาวฟิลิปปินส์ ก็รวมกลุ่มการจัด Asian Tour เป็นรายการอาชีพ ก็คือถ้าชนะแล้วก็จะได้เงินรางวัล 50,000 – 60,000 บาท เราก็ตั้งเป็นสมาคมขึ้นมาเพื่อที่จะเป็นสมาชิกของสหพันธ์โลก ตอนนั้นเรียกว่าเป็นสมาคมกีฬากระดานโต้คลื่น เป็นสมาชิกของสหพันธ์กีฬากระดานโต้คลื่นโลก หรือ ISA ในขณะนั้น

ทำให้ประเทศเราถือว่าเป็นชาติแรกๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เป็นสมาชิก ดำเนินกิจกรรมเรื่อยมา จัดการแข่งขันในลักษณะของกีฬา บวกกับส่งนักกีฬาไปแข่งต่างประเทศ

ปี 2019 เราโชคดีที่มีบรรจุกีฬาชนิดนี้ในโอลิมปิก และมีอยู่ในซีเกมส์ ปี 2019 ทำให้เราอยู่ในพระราชบัญญัติกีฬาปี 2558 เลยเปลี่ยนมาเป็นสมาคมกีฬากระดานโต้คลื่นแห่งประเทศไทย ซึ่งมี การกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในกำกับดูแล

แข่งซีเกมส์ครั้งแรกได้มา 3 เหรียญ 1 เหรียญเงินกับน้องแอนนิต้า ซึ่งเป็นเด็กภูเก็ต กับ 2 เหรียญทองแดง

หลังจากนั้นเนี่ยเราก็ส่งเด็กไปแข่งชิงแชมป์โลกทุกปี มีการจัดการแข่งขันชิงแชมป์ประเทศไทย ในส่วนของกีฬากระดานโต้คลื่นทุกปี จนถึงปัจจุบัน เราพัฒนาต่อเนื่องและเหลือแค่โอลิมปิกอย่างเดียวที่เรายังไม่สามารถ Qualify ไป ซึ่งมันเป็นกีฬาใหม่ เหรียญก็ค่อนข้างน้อย แต่เราก็ไม่ละความพยายามเราพยายามที่จะส่งเด็กไปแข่งทุกปี เพื่อเก็บคะแนนแต้มสะสม

ในส่วนของกีฬาอาชีพเอง ณ ตอนนี้ก็มีน้องๆ ที่ได้รับสปอนเซอร์จากภาคเอกชน เข้าไปร่วมการแข่งขันอยู่แล้ว สิ่งที่สมาคมทำได้ก็พยายามที่จะสร้าง Event การแข่งขันในประเทศ เพื่อที่จะส่งเสริมเด็กที่มีความสามารถ เผื่อเข้าตาหรือเด็กมีความพร้อม ภาคเอกชนก็จะมานำไปส่งเสริมในกีฬาอาชีพต่อไปได้

ทุกปีเราจะมีการจัดการแข่งขันชิงแชมป์ประเทศไทยที่จังหวัดภูเก็ต บวกกับ Event อื่นๆ ในลักษณะของการท่องเที่ยวเชิงกีฬา เราก็จะจัดที่ภูเก็ตเป็นหลัก เราอยากที่จะให้จังหวัดภูเก็ตเป็นเซิร์ฟ Capital คือเป็นเมืองหลวงของเซิร์ฟของประเทศไทย เราก็จะมียุทธศาสตร์ในตรงนี้ ก็คือ มีในเรื่องของการสร้างนักกีฬาแล้วก็การสร้างบุคลากร เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ซึ่งมาคู่กัน เราพยายามที่จะให้ความรู้น้องๆ ในการสอนที่ถูกต้อง สมาคมเองจะจัดการฝึกอบรมบุคลากร ทั้งผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน และความปลอดภัยทางน้ำภูเก็ต ทุกปี เราจัดอย่างน้อยๆ 2 ครั้ง เพื่อที่จะพัฒนาบุคลากรในส่วนนี้ ป้อนให้จังหวัดภูเก็ต 

เดือนมิถุนายน วันที่ 23 24 25 ก็จะมี Event เปิดของจังหวัดภูเก็ตเ เป็น Phuket Surf Contest จะเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติบวกกับ Entertainment กลางคืนมีคอนเสิร์ต มีดี DJ กลางวันแข่งเซิร์ฟ 3 วัน ต่อเนื่องจากปีที่แล้วที่เรา Phuket Surf Festival ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีมากมีเงินหมุนเวียนเข้าภูเก็ต 172 ล้านบาท

ปีนี้เราคาดหวังจำนวนเงินเม็ดเงินที่จะมาหมุนเวียน ใกล้เคียงกัน เรียกว่าเราจัดใหญ่ก่อนเพื่อที่จะสร้างโมเมนตัมที่เหลือใน Green Season จนถึงพฤศจิกายน เพราะฉะนั้นเราต้องเริ่มใหญ่แล้วมันก็จะเป็นข่าวต่อเนื่อง

จะมีจัดชิงแชมป์ประเทศไทย ต่อเนื่องที่จังหวัดภูเก็ต แล้วก็จะมีรายการนานาชาติอีกครั้งนึงเดือนกันยายน ซึ่งเป็นปิดซีซั่นอีกทีนึง ยังไม่รวมรายการเล็กๆ ที่เราจะจัดอีก ซึ่งอาจจะมีมาจากทางภาคเอกชน หรือภาคท้องถิ่นเอง ซึ่งสมาคมเนี่ยก็พร้อมจะเป็นพี่เลี้ยงในการจัด คิดว่าไม่ต่ำกว่า 3-4 อีเว้นสำหรับจังหวัดภูเก็ต ในช่วง 4-5 เดือนของ Green Season นี้

ฝากน้องๆ เตรียมรอเลย อาจจะต้องติดตามในในเพจของสมาคม หรือว่าเพจของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภูเก็ต นแล้วเราก็จะอ่าประชาสัมพันธ์อีกครั้งหนึ่ง

ทิ้งท้าย มันมีมีคำคำนึงนะครับที่ใช้กันมานานมากแล้วนะครับ เราเรียกว่าอ่า Only The Surfer Know the Feeling คือเฉพาะคนที่เล่นเซิร์ฟถึงจะรู้ความรู้สึกนี้ กีฬาชนิดนี้น่ามาลองเล่น เราไม่ต้องพูดมากเลยเราอยากให้คุณมาเรียน คุณติดใจแน่นอน 100% ไม่มีไม่มีว่ากลับไปแล้ว ไม่ชอบ ไม่มีทางเลยพี่จุ๊บการันตีเลยครับ